วันอังคาร, ตุลาคม 25, 2554

Web 3.0 Pat of Composite Application

Composite Applications สะท้อน มุมมอง ของวิศวะกรรมซอฟต์แวร์  ทำให้เกิด การผสมผสาน แอพพลิเคชั่น โปรแกรม หรือบริการต่างๆ ที่มีอยู่บนเว็บ จากแหล่งต่างๆ  เข้าด้วยกันเสมือนเป็นเว็บไซต์เดียวกัน  เพื่อประโยชน์ต่อการใช้งานได้  การทำงาน สำหรับ Composite Applications อาศัยแหล่งข้อมูลทางธุรกิจผ่านทางโมดูลหรือเว็บเซอร์วิสที่มีอยู่  ทั้งนี้  Composite applications  ไม่ได้อิงอยู่กับ นิยามของ SOA เพียงเท่านั้น มันยังสามารถ พัฒนาขึ้นจาก เทคโนโลยีหรือ สถาปัตยกรรมใดๆ  ก็ตาม ที่ได้ประยุกต์ใช้นิยามดังกล่าว 

วันพุธ, ตุลาคม 19, 2554

ประโยชน์ในการใช้ ADO.NET

1. เป็นออปเจ็กต์โมเดลพื้นฐาน รองรับการทำงาน การเรียกใช้ข้อมูลแบบไร้การเชื่อมต่อ โมเดลออปเจ็กต์
ADO.NET ถูกออกแบบให้ มุ่งตอบสนองต่อนักพัฒนา ในเรื่อง คุณลักษณะการเรียกใช้ข้อมูล เรื่องที่จะกล่าวถึง
โดยทั่วไป การเรียก และการปรับปรุงข้อมูล แอพพลิเคชั่นเว็บทั้งหลาย ถูกสร้างขึ้น จากการเรียกใช้ข้อมูล และ
บางที ก็จัดเตรียมหน้าจอสำหรับการปรับปรุง สำหรับเรื่องการเรียกใช้ข้อมูล ADO .NET ได้เตรียมออปเจ็กต์
ที่สนับสนุน การสตรีมเรียกใช้ข้อมูล ด้วยวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สำหรับการอ่านข้อมูล

2. ความสามารถในการทำงานร่วมกับ XML โดยเฉพาะออปเจ็กต์ Dataset
กับแอพพลิเคชั่นเว็บ ได้นำเสนอความสามารถในการปรับปรุง ปกติแล้วการเรียกใช้ข้อมูลแบบ Synchronize
มักจะก่อปัญหาให้บ่อยๆ ADO.net จึงได้จัดเตรียมการสนับสนุน รองรับการเรียกใช้ข้อมูลแบบไร้การเชื่อมต่อ
รวมทั้ง รูปแบบพิเศษเฉพาะที่เรียกว่า “DiffGram” ซึ่งได้สงวนเรคคอร์ดข้อมูลเดิม และค่าที่ผ่านการแก้ไขไว้ใน DataSet
เดียวกัน และตอนนี้แอพพลิเคชั่นเว็บ สามารถแจกจ่าย Dataset ที่ไร้การเชื่อมต่อ ไปยังไคลเอ้นท์ได้
นั่นจะมีผลทำให้ สามารถทำการการปรับปรุงข้อมูล เมื่องานฝั่งไคลเอ็นท์ เสร็จสิ้นแล้ว มันก็สามารถส่ง DataSet กลับมายังเว็บเซิรฟเวอร์ เพื่อจับคู่ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับรายละเอียดในข้อผิดพลาดของเรคคอร์ด DiffGram ในแต่ละแถวข้อมูล มันสามารถสื่อสารกลับไปยังไคลเอ็นต์ได้ ในเหตุการณ์ที่เว็บเซิรฟเวอร์ พบข้อผิดพลาดของจาการ Synchronize ข้อมูลที่ปรับปรุง

Web 3.0 A Part of Semantic Web

Semantic Web แสดงถึง ระบบสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ช่วยทำให้ภาษาที่ต่างกัน สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ ทั้งที่อยู่บนฝั่งของเว็บที่พัฒนาขึ้น และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดว่า ข้อมูลจากแหล่งใดดีที่สุด แต่จะนำสิ่งที่สอดคล้องกันทั้งหมดมา รวมไว้ด้วยกัน และทำให้ระบบฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความหลากหลายทางด้านมิติข้อมูลมากขึ้น เนื่องด้วย การทำงานของ Semantic Web ได้กำหนด Provide Common framework ที่ทำให้ข้อมูล สามารถแบ่งปัน share และนำกลับมาใช้ใหม่ reused ข้าม Application หรือชุมชน (Community) ที่ได้ระบุขอบเขตไว้ชัดเจน ได้ โดยที่ตัวเครื่องจักร (Machines) ทั้งหลาย สามารถเข้าใจในองค์ประ


กอบของข้อมูลที่มีการแนบนิยามโดเมน (Domain theory) เช่น รูปแบบการอ้างอิง Class แม่ ของข้อมูล หรืออาจเรียกว่าเป็น Ontology ที่จะสามารถบอกระดับความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ การมาของ Semantic Web จะช่วยให้ข้อมูลมีการเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้น ในรูปแบบเครือข่ายเชิงความหมาย (Semantic Network) เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์อันชาญฉลาดมากยิ่งขึ้นในอนาคต อาทิ เช่น โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ (Intelligent Agent) ที่สามรถสืบค้นข้อมูลที่อิงตามความหมายได้ (Semantic Search)

Web 3.0 A Part of AI (ระบบสมองกล)

AI (Artificial Intelligence) คำเรียกว่า ระบบสมองกล เราจะรู้สึกคุ้นมากกว่า มีขีดความสามารถในการ คาดเดา ว่า เราคิดอะไร guess what ? คาดการณ์/หยั่งรู้ ว่าเราจะทำอะไรต่อไป (what doing next) ได้ในระดับใกล้เคียงแม่นยำมากขึ้น เสมือนคิดได้เอง จากนั้น จะทำการค้นหา ผลลัพธ์ แล้วนำมาประมวลคำสั่ง (execute) เพื่อตอบสะนองความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้ฝังระบบสมองกลไว้ข้างใน หุ่นยนตร์เพื่อนมนุษย์ asimo
เครื่องตรวจวัดดรรชนีมวลกาย เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ กล่องดำในเครื่องบิน ระบบอัจฉริยะในรถยนต์ต้นแบบ
การวัดระยะทาง จากปลายทางมายังจุดเริ่มขับรถ การทำงานของใบปัดน้ำฝนโดยอัตโนมัติเมื่อมีฝนตก การหักมุมแสงไฟส่องของไฟเลี้ยวหน้า เมื่อรถเลี้ยวโค้ง สัญญาณ กะระยะพร้อมกับ การแจ้งเตือนด้วย เสียงและไฟกระพริบ
การใช้เสียงสั่งงาน Voice Command กับอุปกรณ์ ในรถยนต์ คุณผู้อ่านคงจะได้ผ่านตากับ โฆษณารถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง
การควบคุมอุณหภูมิภายในรถ เมื่ออากาศเปลี่ยนไป การทำงานอัตโนมัติของไฟตัดหมอก ระบบที่สัมพันธ์กับเกียร์ เช่น ควบคุมความเร็ว หรือ ระบบควบคุมการทรงตัว ด้วยการสร้างสมดุลใน สภาพพื้นผิวต่างๆ