วันพุธ, พฤศจิกายน 16, 2559

Make Life Simple ชีวิตง่ายขึ่นด้วยบริการ Cloud

เนื้อหาที่จะมาคุยกับ ทุกท่านในวันนี้ คือการใช้ บริการ ที่เก็บข้อมูลบนเซิรฟเวอร์เครือข่าย หรือ Storgae on Cloud นั่นเอง มี หลายๆ ผู้ให้บริการที่ เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ผมจะแจงรายละเอียด และที่มาให้ทราบพอสังเขป ดังนี้

iCloud (https://www.icloud.com/#iclouddrive)
Drive (https://drive.google.com/drive/my-drive)

OneDrive (https://onedrive.live.com)


DropBox (https://www.dropbox.com/home)


iCloud+ (https://www.aiscloudplus.com)


  1. iCloud จากค่าย Apple สำหรับผู้ใช้ อุปกรณ์ค่ายนี้ ไม่ว่าจะเป็น iPod, iPhone iPad หรือ Mac Book  มีพื้นที่เก็บข้อมูล แบบไม่มีค่าใช้จ่าย (ฟรี) 5 Gb. ต้องการใช้มากกว่านี้ ต้องซื้อเพิ่ม ใช้เข้าถึงผ่านทาง Apple ID (https://www.icloud.com/#iclouddrive)  
  2. Drive จากค่าย Google มีพื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 15 Gb. ใช้การเข้าถึงผ่านบัญชี Google (@Gmail) (www.google.com/drive) ติดตั้ง App ไว้ที่สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตได้
  3. OneDrive จากค่าย Microsoft มีพื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 5 Gb. ใช้การเข้าถึงผ่านบัญชี Outlook(Hotmail) (https://onedrive.com) ติดตั้ง App ไว้ที่สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตได้
  4. DropBox จากค่าย DropBox มีพื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 2.5 Gb. ติดตั้ง App ไว้ที่สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตได้ (www.dropbox.com)
  5. iCloud+ จากค่าย AIS มีพื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 15 Gb. สำหรับลูกค้า AIS ติดตั้ง App ไว้ที่สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต (www.ais.co.th/cloudplus)
  6. Capture จากค่าย Dtac มีพื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 25 G. สำหรับลูกค้า Dtac ติดตั้ง App ไว้ที่สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต (dtacplay.dtac.co.th/en/captureapp)
  7. Line Keep จากค่าย LINE ภายหลังอัพเดทใหม่ เวอร์ชั่น 5.3.0 ได้มีการเพิ่มลูกเล่นใหม่ อย่าง Keep เข้ามา ไว้สำหรับใช้เก็บรูปภาพ ข้อความ และไฟล์ที่ส่งเข้ามาใน LINE ไว้บน Server แต่ พื้นที่เก็บข้อมูลให้มา น้อยสุด เพียง 1 Gb. ไว้สำหรับ รูปภาพ ข้อความ หรือ ไฟล์เอกสารสำคัญ และยังมีข้อจำกัด ในการจัดการ ด้วยการลบ ทีละไฟล์จะทำได้ยาก ต้องลบทั้งหมด #รอปรับปรุงเวอร์ชั่น 
         แอพข้างต้น ส่วนใหญ่ สามารถทำการ เชื่อมต่อ (Syncronize) กับอุปกรณ์พกพา ไม่ว่าจะเป็นมือถึอ
         หรือ แท็บเล็ตได้ เมื่อติดตั้งแล้ว เพียงแต่ เข้าไปกำหนดค่า เฉพาะ iCloud จะเป็นฟีทเจอร์ที่มาพร้อม
         กับ iOS ให้เข้าไป ทำการตั้งค่า (Settings) และ Sign-In ค่า Apple ID เพื่อให้เครื่องรู้จัก 

         เราสามารถ เลือกใช้ ตามความถนัด และความคุ้นเคย พื้นที่เหล่านี้ สามารถเก็บไฟล์งาน ไฟล์
         รูปภาพ ช่วยให้สะดวก สบายไม่ต้องหอบเครื่องหนักๆ หรือ Harddisk ไป เพียงแค่สามารถเข้าถึง
         Internet หรือ WiFi/3/4G เห็นด้วยใช่ไหมครับ เดินตัวเบา แวะร้าน กาแฟ ก็นั้่งทำงานได้ 
         ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ 😀

วันเสาร์, พฤษภาคม 21, 2559

5 ปัยจัยในการเลือกซื้อ SmartPhone 2016

5 เกณฑ์ ในการเลือกซื้อ สมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ 

1. เครือข่าย รองรับ WiFi 802.11 ac (นอกเหนือจาก a/b/g/n) ที่เป็นมาตรฐาน เครือข่ายไร้สาย ความเร็วสูง
และสามารถสนับสนุน การใช้สัญญาณ 3G/4G  LTE 850/900/1800/1900/2100/2600 MHz (4G) ? ยิ่งช่วงสัญญาณมาก ยิ่งมีความ ยืนหยุ่นในการใช้งานมาก เพราะบางพื้นที่ ผู้ให้บริการ (Operator) ใช้เสากระจายสัญญาณ แรงส่งที่ต่างกัน  

2. โพรเซสเซอร์ Quad-Core/Octa Core (64 Bit ได้ยิ่งดี) 4/8 แกนประมวลผล สนับสนุนการทำงานพร้อมกัน
ได้ไหลลื่น ความเร็ว 1.4 GHz ขึ้นไป สำหรับ Android/Windows Phone สำหรับ iOS 1 GHz รองรับ OS รุ่นปัจจุบันล่าสุดของ 3 ค่าย iOS 8.x , Android 5.1 (Lolipop)/ 6.0 MashMello,  Windows Phone 10

3. รองรับ เทคโนโลยี ชาร์จเร็ว (Quick/Fast Charging)

4. มี Flash LED หรือ Dual Flash เพื่อช่วยในการถ่ายภาพในที่แสงน้อย 

5. Battery Capacity ? 2500+ mAh ความจุยิ่งมากยิ่งดีสำหรับ Android ส่วน iOS จะบริหารจัดการใช้พลังงานแบทได้ดีกว่า
Smart Phone High Light : SS A7 2016, iPhone SE, Wiko UFeel, Asus Zenfone 2 Laser Microsoft Lumia 650, ZTE Blade 6 , Lenovo K5 Note

หมายเหตุ : มาคราวนี้ แนะนำ รุ่นกลางๆ ที่มี Feature ในรุ่นเรือธงอยู่ด้วย เพื่อความสบายกระเป๋านะครับ

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 10, 2559

ฺBig Data กับกระบวนการ Solution Engineering

ขั้นตอน กระบวนการ ในการแก้ปัญหาเชิงวิศกรรม สำหรับ งาน Big Data ประกอบด้วย

1. ความเข้าใจ ว่าหน่วยงาน องค์กร สร้างรายได้มาอย่างไร
2. การจำแนก-แจกแจง ได้ข้อกำหนดหรือเกณฑ์ ในการเริ่มธุรกิจ
3. ระดมความคิด เพื่อดูว่า Big Data มีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร
4. การแปลง ข้อกำหนดทางธุรกิจ ไปสู่ วิธี การทำงาน (Use Cases)
5. ตรวจสอบ วิธี การทำงาน (Use Cases)
6. ออกแบบ และจัดทำโซลูชั่นสำหรับ Big Data

วันศุกร์, มีนาคม 04, 2559

ทักษะ ที่สำคัญ 8 ด้าน สำหรับ วิทยาศาตร์ข้อมูล (Data Science)

ทักษะ ที่สำคัญ จำเป็น สำหรับ นักวิทยศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)

ประกอบด้วย
1. เครื่องมือพื้นฐาน (Basic Tools) R, Python ภาษาการคิวรีข้อมูล SQL
2  พื้นฐานทางด้านสถิติ (Basic Statistics) มีความเข้าใจพื้นฐานและใช้ประโยขน์ข้อมูลสถิติ
3  เรียนรู้การ ทำงานของเครื่องมือ (Machine Learning) การรู้ สูตรวิธี หาค่า แปลงค่าต่างๆ
4. ตัวแปรค่าต่างๆ ใน แคลคูลัส และ เส้นแอลจีบร้า (Multivariable Calculus and Linear Algebra)
5. การแจกแจง จำแนกข้อมูล (Data Munging)
6. การมองเห็นข้อมูล และ การสื่อสารข้อมูล (Data Visualization & Communication)
7. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
8. วิธีคิดในเชิงนักวิทยาศาตร์ข้อมูล (Think Like A Data Scientist)  

Source > blog.udacity.com