วันศุกร์, ธันวาคม 27, 2556

ทิป iPhone iOS 7 Notification (การแจ้งเตือน)

การแจ้งเตือนใน iOS 7 ได้เพิ่มคุณสมบัติในการแจ้งผ่าน มุมมองล็อคหน้าจอ (Lock Screen View)
วิธีการตั้งค่าให้ แตะเลือก การตั้งค่า (Settings) เลือก Notification Center จะเข้าสู่หน้าจอ ของ Notification สามารถเลื่อนเพื่อดูโหมด ตัวเลือกอื่นได้

ตัวเลือกหลัก คือ Access On Lock Screen สามารถกำหนดค่าได้ 2 ส่วน คือ
Notification View สำหรับ ดูรายละเอียดการแจ้งเตือน
และ Today view เพื่อดูรายการประจำวัน

แตะตัวเลือกย่อยแต่ละรายการ แตะปุ่มสลับ เพื่อเปิด-ปิด การทำงาน 

ตัวเลือกย่อย ของ Today View
Today Summary : สรุปรายวัน
Calendar Day View : มุมมองแบบปฏิทินรายวัน
Reminders : การแจ้งเตือน
Stocks : ข่าวหุ้น
Tommorrow Summary : สรุปของวันพรุ่งนี้

Notification View สามารถเลือกวิธีจัดเรียงการแสดงผล
ว่าจะ จัดเรียงเอง (Sort by Manually)
หรือ จัดเรียงตามเวลา (Sort by Time)

ตัวเลือกย่อย Notification View จะประกอบด้วย

รายการที่จะรวมไว้ในการเตือน (Include) ดูรูปประกอบ
และ รายการที่ไม่ได้รวม (Not Include) ดูรูปประกอบ

การแก้ไขลำดับแต่ละรายการให้ แตะ Edit
ด้านบนหน้าจอ Notication Center จากนั้น ให้แตะ
รายการ รายการที่ต้องการค้างไว้ แล้วกวานิ้วเลื่อนขึ้น หรือลง





วันพุธ, พฤศจิกายน 13, 2556

ทิป iPhone iMessage ใน iOS 7

ประหยัดค่าบริการข้อความโดยใช่ iMessage ส่งข้อความสั้น แทน SMS
วิธีการ ให้เลือกการตั้งค่า (Settings)-> ข้อความ (Message) ในกรอบรายการ iMessage ให้แตะสลับเป็น On ดังรูป เท่านี้ก็เรียบร้อย ข้อสังเกตุ iMessage ใช้ได้ระหว่าง อุปกรณ์ ที่ติดตั้ง iOS เท่านั้น 


วันพุธ, ตุลาคม 16, 2556

ทิป iPhone, iPad การลบ แอพฯ ที่เรียกใช้งานใน iOS 7

การลบแอพฯ เพื่อเรียกคืนหน่วยความจำใน iOS 7 สามารถทำได้ง่าน และสดวกกว่า ;)
วิธีการ : แตะปุ่ม Home 2 ครั้ง -> จะเห็นแอพฯ ที่้คยเรียกใช้อยู่แถบ ด้านล่าง และจะเห็นตรงกลาง หน้อจอแสดงหน้าต่างของโปรแกรมตามการเลื่อนซ้าย-ขวา -> แตะตรงหน้าต่างของแอพฯ ที่ต้องการลบ แล้วกวาดนิ้วขึ้นด้านบน เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ 

วันพุธ, ตุลาคม 09, 2556

ทิป iPhone : Control Center iOS 7

Control Center ฟีทเจอร์ใหม่มาพร้อม กับระบบปฏิบัติการณ์ใหม่ iOS 7 ช่วยให้เข้าถึงฟังก์ชั่น/เซอร์วิส ที่เรียกใช้งานบ่อย เช่น Bluetooth, WiFi, ตั้งห้ามรบกวน, ปรับความสว่าง,เล่นเพลง,ไฟฉาย,เครื่องคิดเลข,ล็อคการหมุนหน้าจอ,กล้องถ่ายภาพ,ปรับระดับเสียง,กำหนด Air Plane โหมด 
เรียกใช้ง่ายๆ โดย กวาดนิ้วสไลด์ จากขอบจอล่างขึ้นด้านบน



วันเสาร์, กันยายน 21, 2556

การทดสอบ ส่วนที่ไม่ใช่ฟังก์ชั่นงาน (Non Functional Testing)



การทดสอบนี้ เกี่ยวข้องกับ ความต้องการในส่วน ที่ไม่ใช่ฟังก์ชั่นงาน และถูกออกแบบเพื่อประเมิน ความพร้อมของระบบ
ที่ขึ้นอยู่กับ เกณฑ์หลายๆ ด้าน ซึ่งไม่ครอบคลุมในส่วนการทดสอบฟังก์ชั่นงาน  การทดสอบนี้ ช่วยให้สามารถ ทำการวัด
และเปรียบเทียบ การทดสอบคุณสมบัติ ในส่วนที่ไม่ใช่ฟังก์ชั่นงาน ของระบบงานซอฟต์แวร์

การทดสอบแบบ Non Functional Testing  ประกอบด้วย :


  • Compatibility Testing
    การทดสอบ ความเข้ากันได้ เพื่อตรวจสอบดูว่าซอฟต์แวร์ สามารถรันบนฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์,ระบบปฏิบัติการ, ฐานข้อมูล, เว็บเซิร์ฟเวอร์, แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์, สภาพแวดล้อมเครือข่าย
    ฯลฯ ที่แตกต่างกันได้อย่างราบรื่นหรือไม่  การทดสอบวิธีนี้ ดำเนินงานโดยทีมงานด้านการทดสอบ
  •  Installation Testing
    การทดสอบ การติดตั้ง เพื่อทำให้มั่นใจว่า ระบบได้รับการติดตั้งอย่างถูกต้องและทำงานได้จริง
    การทดสอบวิธีนี้ ดำเนินงานโดย วิศวกรด้านการทดสอบซอฟต์แวร์
    หรือเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ 
  • Internationalization Testing
    การทดสอบ ความเป็นสากล
    (International)
     วิธีนี้ใช้ ตรวจสอบดูขอบเขต ของซอฟต์แวร์ดังกล่าวว่า สนับสนุน
    การทำงานในระดับสากลหรือไม่  เช่น การใช้ภาษาที่แตกต่างกัน การใช้ชุดตัวอักษรที่ต่างกัน เป็นต้น
    ดำเนินงาน
    โดยทีมงานด้านการทดสอบ
  •  Localization Testing
    การทดสอบ แบบจำกัดเฉพาะส่วน  วิธีนี้ ใช้เพื่อ ปรับแอพพลิเคชั่นที่ใช้กันทั่วโลก ให้เหมาะกับวัฒนธรรม
    /
    ท้องถิ่น
    ใดๆ โดยเฉพาะ  
    ดำเนินงานโดยทีมงานด้านการทดสอบ
  • Performance Testing
    การทดสอบ สมรรถนะการทำงาน จะทำการทดสอบคุณลักษณะด้านคุณภาพ ของซอฟต์แวร์ อาทิ เช่น การคง
    สภาพ ความวางใจได้ และความพร้อมใช้งาน วิธีนี้ ดำเนินงานโดยทีมวิศรกรซอฟต์แวร์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • Security Testing
    การทดสอบ ด้านความปลอดภัย ใช้เพื่อ สร้างความให้เกิดความมั่นใจว่า
    จะเกิด ความปลอดภัย จากการดำเนิน
    การทั้งภายในและภายนอก ทั้งโปรแกรมไม่พึงประสงค์ หรือจากคนมุ่งร้าย วิธีนี้ ดำเนินงานโดยทีมงานด้านการทดสอบหรือหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย   
  • Usability Testing
    การทดสอบ ความสามารถใช้งานได้  วิธีนี้ใช้ เพื่อทำความเข้าใจ ถึงวิธีการทำงานที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ ดำเนินงานโดยผู้ใช้งานตัวจริง
 

การทดสอบส่วนของฟังก์ชั่นงาน (Functional Testing)



การทดสอบฟังก์ชั่นการทำงาน ใช้เพื่อพิสูจน์ความจริง ในแต่ละฟังก์ชั่นงาน ของแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ ว่าทำงานสอดคล้อง กับข้อกำหนดความต้องการระบบงานหรือไม่  
การทดสอบแบบ  Functional Testing  ประกอบด้วย 

  • Accessibility Testing
    การทดสอบ ความสามารถการเข้าใช้งาน วิธีนี้ ช่วยในการกำหนดว่า ซอฟต์แวร์ดังกล่าวสามารถ นำมาใช้กับบรรดา
    ผู้พิการได้หรือไม่  โดยกรรมวิธีการทดสอบ จะทดลอง กับการทำงานจริงโดย คนที่พิการ  
  • Alpha Testing
    การทดสอบ ในจุดเริ่ม(Alpha) คือการ ทดสอบ โดยจำลอง การทำงาน/การปฏิบัติจริง โดยผู้ใช้งาน หรือลูกค้า บนเครื่อง/ไซต์งานของนักพัฒนา  การทดสอบวิธีนี้ ถูกนำมาใช้ก่อน ที่จะนำซอฟต์แวร์ เข้าสู่ขั้นการทดสอบ ในชั้นถัดมา (Beta)  
  • Beta Testing
    การทดสอบ ในชั้นถัดมา (Beta) คือการ ทดสอบในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่จะ ส่งมอบแอพพลิเคชั่น ออกใช้งาน
    ตามวัตถุสงค์ในเชิงพาณิชย์  โดยปกติแล้ว ผู้ดำเนินงานวิธีนี้ จะเป็นผู้ใช้งานตัวจริงหรือลูกค้าเจ้าของระบบ  
  • Destructive Testing
    การทดสอบ ภัยการทำลาย วิธีนี้มีจุดมุ่งหมาย ในการหาประเด็นข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ เพื่อทำความเข้าใจกับโครงสร้าง โดยกำหนดจาก ตัวอย่างการทดสอบ ด้วยการจงใจใส่ รายการผิดพลาด ทั้งข้อมูลนำเข้า รูปแบบจำนวน
    ฯลฯ ผู้ดำเนินงาน อาศัยจากทีมงานทดสอบ
  • Smoke Testing  
    วิธีทดสอบ แบบสโมค การทดสอบวิธีนี้ ใช้เพื่อ พิจารณาว่า ”สิ่งใหม่” ที่เพิ่มเข้ามาจากทีมพัฒนา มีความเสถียร
    และคงทนเพียงพอหรือไม่  ดำเนินงานโดยทีมงานด้านการทดสอบ
  • Sanity Testing
    การทดสอบ สภาวะปกติ
    (Sanity)
    การทดสอบวิธีนี้ ใช้เพื่อ ประเมินอย่างรวดเร็ว ในส่วนของ ซอฟต์แวร์
    สภาพแวดล้อมเครือข่าย ระบบภายนอก ว่ายังทำงานตามปกติ หรือไม่  ดำเนินงานโดยทีมงานด้านการทดสอบ
  • Regression Testing
    การทดสอบ การเสื่อมถอย ใช้สำหรับสืบค้น หาข้อผิดพลาด ในซอฟต์แวร์ซึ่งไม่ครอบคลุม หลังจากได้ ปรับปรุง โปรแกรมจนเสร็จแล้ว (เช่นการ ซ่อมแก้ไข จุดด่าง หรือบั๊ก ในฟังก์ชั่นการทำงาน) โดยการทดสอบโปรแกรมซ้ำ
    อีกครั้ง ดำเนินงานโดยทีมงานด้านการทดสอบ