วันอังคาร, พฤศจิกายน 29, 2554

Components บน Cloud Platform 2



1.       Platform-as-a-service : (PaaS) เป็นบริการ  อยู่ในรูป สมบูรณ์เบ็ดเสร็จ ประกอบไปด้วย การพัฒนาแอพพลิเคชั่น , การพัฒนาส่วนติดต่อการใช้งาน, การพัฒนาด้านฐานข้อมูล การจัดการด้านการจัดเก็บข้อมูล การทดสอบระบบ ฯลฯ
2.       Integration-as-a-service : เป็นบริการ ที่รองรับความสามารถ ในการส่งมอบ ลำดับการเชื่อมโยงสมบูรณ์เบ็ดเสร็จบนคลาวด์  ประกอบด้วย การอินเตอร์เฟสกับแอพพลิเคชั่น  การหาจุดร่วมการทำงานของ Semantic การควบคุมการไหล (Flow Control) การออกแบบส่วนของการเชื่องโยง (Integration Design) ฯลฯ
3.       Security-as-a-service : เป็นบริการ ที่รองรับความสามารถ ในการส่งมอบ บริการหลักทางด้านความปลอดภัย จากการ รีโมทเข้าใช้งานทางอินเตอร์เน็ต
4.       Management-as-a-service : (MaaS)  เป็นบริการ ในส่วน ความต้องการทางด้านบริการ  ที่กำหนดความสามารถ ในการจัดการกับ บริการบนคลาวด์ ตั้งแต่ หน่วยเดียว ไปจนถึง หลายๆ หน่วย
5.       Testing-as-a-service : (TaaS) เป็นบริการ ที่รองรับความสามารถ ในด้านการทดสอบเฉพาะส่วน (Local) หรือ ระบบที่ส่งผ่านคลาวด์ (Cloud-Delivered Systems) โดยการใช้ ซอฟต์แวร์เพื่อการทดสอบ และบริการจากแหล่งภายนอก (Remotely Hosted)  
6.        Infrastructure-as-a-service : (IaaS) เป็นบริการ ที่มีลักษณะ ของ ศูนย์กลางบริการข้อมูล Data Center as-a-service รองรับความสามารถ ในการรีโมทเข้าใช้ทรัพยากรระบบคอมพิวเตอร์  ประเด็นสำคัญ เราอาศัยการเช่าเซิร์ฟเวอร์จริง เป็นของเรา เพื่อทำงานด้านต่างๆ  ตามที่เราต้องการ  

วันเสาร์, พฤศจิกายน 26, 2554

Components บน Cloud Platform 1


1.       Storage-as-a-service : เป็นบริการ ให้เช่า พื้นที่ตามขนาดที่ต้องการ เป็นหนึ่งทางเลือกให้ผู้ใช้ สามารถที่จะปรับขยายเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ไปยังแหล่งภายนอก โดยเมื่อต้องการใช้งาน สามารถเข้าถึงผ่าน การรีโมท
2.       Database-as-a-service : (DaaS) เป็นบริการ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการ สามารถควบคุมบริการ ผ่านทางรีโมทไปยัง
ศูนย์รวมฐานข้อมูล ที่ใช้ร่วมกับผู้ใช้รายอื่น และมีฟังก์ชั่นเฉพาะที่ใช้งานได้ เสมือนทำงาน ใกล้กับฐานข้อมูล
3.       Information-as-a-service : เป็นบริการ ที่ช่วยให้ ผู้ใช้สามารถเข้าถึง ข้อมูลใดๆ โดยการรีโมท ผ่านทางส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ออกแบบไว้เป็นอย่างดี ในรูป  API เช่น ข้อมูลราคาหุ้น  การตรวจสอบที่อยู่ และรายงานต่างๆ
4.       Process-as-a-service : เป็นบริการ ในรูปของ  ทรัพยากร ทางไกล ที่ได้รวบรวมทรัพยากรระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน  ตย. เช่น  ข้อมูลและการบริการ  ไม่ว่าจะเป็นที่รวมอยู่ใน หน่วยทรัพยากรคอมพิวเตอร์ บนคลาวด์ เดียวกัน หรือ
หน่วยขอคลาวด์จากการการรีโมท
5.       Application-as-a-service/Software-as-a-service : (AaaS/SaaS) เป็นบริการ รองรับการทำงาน ของแอพพลิเคชั่น
ไม่ว่าชนิดใด  ที่สามารถถ่ายโอนส่งมอบ ข้ามแพล็ตฟอร์มเว็บ ไปยังผู้ใช้ปลายทาง 

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 24, 2554

Agile Development



Agile  เป็นแนวคิดใหม่  สำหรับโมเดลการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่กำลังมาแรง และเป็นกรรมวิธีวิทยา (Methodology ) แห่งอนาคต
ที่ขับเคลื่อนบนฐานของทีมงาน เพื่อสร้างความพึงพอใจ ให้กับลูกค้า โดยทำให้การพัฒนา เร็วพร้อมใช้  Rapid and flexible response to change  มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และทยอยปล่อย (Release)  ซอฟต์แวร์เพื่อการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ  Agile  ช่วยให้ทีมเรียนรู้จากประสบการณ์ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากว่า  แม้มีการเปลี่ยนแปลง ตัว โมเดล ออกแบบมาเพื่อรองรับธรรมชาติ ของความต้องการซึ่งไม่นิ่งและมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยผ่านการวางแผน การส่งมอบงาน การแปลงชิ้นงานให้มีขนาดเล็กลง  การส่งมอบโปรเจ็กต์งานอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้รู้ถึง ผลย้อนกลับ จากลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่า “ตัวงาน” ที่กำลังพัฒนาอยู่ ตรงกับที่พวกเขาความต้องการ  Agile  เน้นความถนัดมากกว่า กระบวนการ (Process) หรือเครื่องมือ และการสื่อสารที่เรียบง่ายรวดเร็ว  เช่น บางเคส อาจเปิดโอกาส ให้นักพัฒนาได้ พบปะพูดคุย กับผู้ใช้โดยตรง ^ ^

วันอังคาร, พฤศจิกายน 22, 2554

แผนภาพ กรรมวิธี (Procedure Diagrams)

(Procedure Diagrams)  ใช้ บันทึกอ้างอิง (notation) เพื่อการแบ่งแยก โพรเซส ให้เป็น ชุดของขั้นตอนการทำงานย่อยๆ 
ตัวแผนภาพ  ตอบสนองงาน ในด้านเอกสาร ที่ใช้อธิบายโพรเซส หรือ นำเสนอ ลำดับงานในแต่ละขั้นตอน  เพื่อแสดงให้
เห็นว่า เมื่อใด ต้องอาศัย การตัดสินใจ ในระหว่างโพรเซส  ทั้งนี้ตัวแผนภาพ ยังสามารถแยกย่อย ออกไปได้เป็น หน่วย
กิจกรรมได้ อีกหลายทาง ดังที่เราคุ้นดี เมื่อกล่าวถึง ผังการไหล
(flowchart) หรือ แบบจำลองการทำงาน (workflow) เข้าใจกันดีว่า การบรรยาย กรรมวิธีทั้งหมดของระบบงานที่ซับซ้อน ไม่อาจ ที่จะสรุปรวบให้อยู่ใน เพียง แผนภาพกรรมวิธี
เพียงอย่างเดียวได้  ด้วยเหตุผลนี้ แผนภาพกรรมวิธี  จึงต้องตั้งชื่อให้มีความชัดเจน และเป็นไปตามโพรเซส ที่มันทำงาน
อยู่ เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยง ความเข้าใจสับสน ระหว่างแผนภาพ
(diagram) ต่างๆ

วันศุกร์, พฤศจิกายน 18, 2554

Web 3.0 Part of Metadata

Metadata ข้อมูลกำกับเพื่ออธิบายข้อมูลหลัก หรือกลุ่มของข้อมูลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ งาน ห้องสมุด งานภาพถ่าย การบันทึกวิดีโอ เว็บเพจ  การทำงานของเมทาดาตาจะช่วยทำให้ทราบถึงรายละเอียดและคุณลักษณะ
ของข้อมูลแต่ละประเภท

วันพุธ, พฤศจิกายน 16, 2554

Web 3.0 Part Of SVG

SVG  (Scalable Vector Graphics)  คือข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานเปิด สำหรับนำเสนอ ข้อมูลแบบกราฟฟิก
ด้วยเวคเตอร์ที่ปรับเปลี่ยน ย่อและขยายได้ ในมุมมองภาพแบบ 2 มิติโดย ไม่สูญเสียความคมชัด กว่าไฟล์ที่จัด
เก็บในแบบ
Pixel  เนื่องจากมันใช้โครงสร้างไฟล์ในแบบ XML ซึ่งช่วยให้ไฟล์สามารถสืบค้น การจัดการอินเด็กซ์
การควบคุมโดย คำสั่งสคริปต์ และสามารถบีบอัดได้  แนวคิดนี้  เราได้ใช้มันแล้วในปัจจุบัน จากงาน ภาพถ่าย
การพิมพ์  เนื้อหา บน เว็บ และอุปกรณ์ พกพา สมาร์ทโฟน  แท็บเล็ต การออกแบบ แผนที่ กับระบบ
GIS ฯลฯ

Web 3.0 Part of OWL

OWL (Web Ontology Language) คือภาษาสำหรับ ใช้อธิบาย เรื่องราว หรือ สิ่งต่างๆ  ภายในเว็บไซต์ ให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน โดยดูจาก ความหมาย ของ รายการนั้นๆ  ที่ได้มาจากการเชื่อมโยง ผ่าน ตัวจำแนกชนิดข้อมูล (Metadata) นั้นเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลใน Internet ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น  หากมีการกำหนด คำค้นหา “search phrase”  ใน internet โดยใช้ ประโยคยาวๆ ต่อเนื่องกัน เป็นเงื่อนไขสำหรับสืบค้น  ปัจจุบันคงไม่มีเครื่องมือ ใดๆ สามารถ search ข้อมูลจาก internet ให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ ดังกล่าวได้แน่  แต่ OWL จะทำให้มีโอกาส ในการสร้างตัวแทน (Agent) ที่ search ข้อมูลจาก query ข้างต้นได้  เนื่องจาก OWL กำหนดให้แต่ละ  website ควรจะอธิบายถึงข้อมูลภายใน ด้วยภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละ ประเภท สามารถเข้าใจได้ ซึ่งก็คือ XML + RDF นั่นเอง แต่ OWL จะเพิ่มเติมส่วนของการอธิบายในเชิงของ Class, Properties และ instance ของข้อมูลเข้าไปด้วย

วันอังคาร, พฤศจิกายน 15, 2554

Web 3.0 Part of Semantic Wiki

Semantic Wiki  คือรูปแบบ การเปรียบเทียบ บอกถึงคุณลักษณะคำๆ หนึ่ง ที่คล้ายกับพจนานุกรม (Dictionary) ฉะนั้นหาก Web 3.0 รองรับ Wiki ด้วยแล้ว จะทำให้เราสามารถ สืบค้นความหมาย ในข้อมูลต่างๆ  ได้ครอบคลุม และถูกต้องมากขึ้น ตัวอย่าง ที่พบเห็นกันบ่อย ได้แก่ เว็บ วิกิพีเดีย สารานุกรมข้อมูล  และ เว็บดิกชั่นนารีต่างๆ 

วันเสาร์, พฤศจิกายน 12, 2554

Cloud Model


โมเดลใน คลาวด์  ที่ให้บริการ ประกอบด้วย คุณลักษณะด้านต่างๆ ดังนี้
On-Demand Self Service : ผู้ใช้งานสามารถ เรียกใช้ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตัวเอง ที่กำหนดไว้ได้
อย่างเช่น ระยะเวลาของเซิร์ฟเวอร์ สื่อบันทึกบันครือข่าย ตามต้องการได้เอง โดยไม่ใช้ ความช่วยเหลือใดๆ จากผู้จัดหาบริการ

Ubiquitous Network Access : ศักยภาพและสมรรถนะต่างๆ ที่มีพร้อมใช้ บนเครือข่าย สามารถเรียกใช้ผ่านกลไกมาตรฐานที่สนับสนุน ไคลเอ็นท์บนแพล็ตฟอร์มต่างชนิดกัน  อาทิ โทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ก อุปกรณ์ช่วยงานส่วนบุคคล (PDA)
Location Independent Resources Sharing :  แหล่งทรัพยากร ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้จัดหาบริการ  ที่รวมบริการต่างๆ
ไว้เพื่อตอบสนองบริการสำหรับผู้ใช้งานทุกประเภท  โดยการใช้โมเดลแบบหลายผู้เช่า เข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่แตกต่างกัน
ทั้งแบบภายนอก และ แบบจำลอง ซึ่งกำหนดผ่านความต้องของผู้ใช้  ที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้งาน
ไม่ใช่ผู้ควบคุม (เป็นงานของผู้จัดหาบริการ) และจะไม่รู้  ตำแหน่งที่ตั้งจริง ของทรัพยากรที่กำลังใช้งานอยู่  ตัวอย่าง
ทรัพยากรดังกล่าว ประกอบด้วย  สื่อบันทึกข้อมูล  การประมวลผล หน่วยความจำ ความกว้างช่องสัญญาณเครือข่าย
(bandwidth) และการจำลองเครื่อง (Virtual Machine)
Rapid Elasticity : ศักยภาพและสมรรถนะที่สามารถ จัดทำข้อกำหนดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่น ช่วยให้
การปรับขยาย หรือ ลดขนาดงาน ทำได้อย่างรวดเร็ว  ในส่วนของผู้ใช้งาน ขีดความสามารถที่พร้อมใช้นี้ จะอยู่ในรูปของ
การเช่า ทั้งแบบกำหนดช่วงเวลา
(Fixed Period) และแบบไม่กำหนด (Open End) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน
และสามารถ ซื้อตามขนาดที่ใช้ ในภายหลังก็ได้   
Pay-Per-Use : ศักยภาพและสมรรถนะ ที่เรียกเก็บ โดยการใช้ หน่วยวัด เช่น ค่าธรรมเนียม สำหรับ การบริการ หรือ ใช้การเรียกเก็บในรูปของโฆษณา  เพื่อกระตุ้นให้เกิด การใช้ทรัพยากรให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด เช่น การสำรวจพื้นที่ใช้งาน, ความกว้างช่องสัญญาณ และการเรียกใช้ทรัพยากรระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึง การเรียกเก็บ ตามจำนวนบัญชีผู้ใช้ทีกำลังปฏิบัติงานอยู่ (Active User) 

วันศุกร์, พฤศจิกายน 11, 2554

Cloud Computing


เทคโนโลยี คลาวด์  เป็นโมเดลสำหรับ การเข้าถึงบริการแบบพร้อมใช้  ที่ “จ่ายตามขนาดใช้” (pay-per-use) รวมทั้งได้
เตรียมความสะดวกไว้ เพื่อรองรับการเรียกใช้ตามคำสั่ง ผ่านเครือข่าย ไปยังทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งและกำหนดค่าไว้ อาทิเช่น เซิร์ฟเวอร์ ระบบเครือข่าย สื่อบันทึกข้อมูล แอพพลิเคชั่น และเซอร์วิส  ในรูปแบบจุดรวมการจัดสรรบริการ
(Shared Pool)  โดยอาศัย แนวคิด แบ่งสรรเวลา Time-sharing ผสาน การประหยัดต้นทุนจัดหา ทั้งในส่วน เครื่องมืออุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมประยุกต์ (Software) ค่าบำรุงรักษา (Maintenance Fee) และกระบวนการทำงาน (Process) การเลือกใช้เทคโนโลยี คลาวด์อย่างเหมาะสม ช่วยให้สามารถกำหนดแบบแผนการปฏิบัติงาน ได้อย่างรวดเร็ว และ นำออกใช้
ด้วย การใช้เวลาเพียงน้อยนิดสำหรับการบริหารจัดการ  เนื่องจากเราได้ “โอน” งานในส่วนนี้ให้กับผู้ให้บริการภายนอกที่มีความเชียวชาญเฉพาะดูแลแทน  

วันอังคาร, ตุลาคม 25, 2554

Web 3.0 Pat of Composite Application

Composite Applications สะท้อน มุมมอง ของวิศวะกรรมซอฟต์แวร์  ทำให้เกิด การผสมผสาน แอพพลิเคชั่น โปรแกรม หรือบริการต่างๆ ที่มีอยู่บนเว็บ จากแหล่งต่างๆ  เข้าด้วยกันเสมือนเป็นเว็บไซต์เดียวกัน  เพื่อประโยชน์ต่อการใช้งานได้  การทำงาน สำหรับ Composite Applications อาศัยแหล่งข้อมูลทางธุรกิจผ่านทางโมดูลหรือเว็บเซอร์วิสที่มีอยู่  ทั้งนี้  Composite applications  ไม่ได้อิงอยู่กับ นิยามของ SOA เพียงเท่านั้น มันยังสามารถ พัฒนาขึ้นจาก เทคโนโลยีหรือ สถาปัตยกรรมใดๆ  ก็ตาม ที่ได้ประยุกต์ใช้นิยามดังกล่าว 

วันพุธ, ตุลาคม 19, 2554

ประโยชน์ในการใช้ ADO.NET

1. เป็นออปเจ็กต์โมเดลพื้นฐาน รองรับการทำงาน การเรียกใช้ข้อมูลแบบไร้การเชื่อมต่อ โมเดลออปเจ็กต์
ADO.NET ถูกออกแบบให้ มุ่งตอบสนองต่อนักพัฒนา ในเรื่อง คุณลักษณะการเรียกใช้ข้อมูล เรื่องที่จะกล่าวถึง
โดยทั่วไป การเรียก และการปรับปรุงข้อมูล แอพพลิเคชั่นเว็บทั้งหลาย ถูกสร้างขึ้น จากการเรียกใช้ข้อมูล และ
บางที ก็จัดเตรียมหน้าจอสำหรับการปรับปรุง สำหรับเรื่องการเรียกใช้ข้อมูล ADO .NET ได้เตรียมออปเจ็กต์
ที่สนับสนุน การสตรีมเรียกใช้ข้อมูล ด้วยวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สำหรับการอ่านข้อมูล

2. ความสามารถในการทำงานร่วมกับ XML โดยเฉพาะออปเจ็กต์ Dataset
กับแอพพลิเคชั่นเว็บ ได้นำเสนอความสามารถในการปรับปรุง ปกติแล้วการเรียกใช้ข้อมูลแบบ Synchronize
มักจะก่อปัญหาให้บ่อยๆ ADO.net จึงได้จัดเตรียมการสนับสนุน รองรับการเรียกใช้ข้อมูลแบบไร้การเชื่อมต่อ
รวมทั้ง รูปแบบพิเศษเฉพาะที่เรียกว่า “DiffGram” ซึ่งได้สงวนเรคคอร์ดข้อมูลเดิม และค่าที่ผ่านการแก้ไขไว้ใน DataSet
เดียวกัน และตอนนี้แอพพลิเคชั่นเว็บ สามารถแจกจ่าย Dataset ที่ไร้การเชื่อมต่อ ไปยังไคลเอ้นท์ได้
นั่นจะมีผลทำให้ สามารถทำการการปรับปรุงข้อมูล เมื่องานฝั่งไคลเอ็นท์ เสร็จสิ้นแล้ว มันก็สามารถส่ง DataSet กลับมายังเว็บเซิรฟเวอร์ เพื่อจับคู่ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับรายละเอียดในข้อผิดพลาดของเรคคอร์ด DiffGram ในแต่ละแถวข้อมูล มันสามารถสื่อสารกลับไปยังไคลเอ็นต์ได้ ในเหตุการณ์ที่เว็บเซิรฟเวอร์ พบข้อผิดพลาดของจาการ Synchronize ข้อมูลที่ปรับปรุง

Web 3.0 A Part of Semantic Web

Semantic Web แสดงถึง ระบบสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ช่วยทำให้ภาษาที่ต่างกัน สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ ทั้งที่อยู่บนฝั่งของเว็บที่พัฒนาขึ้น และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดว่า ข้อมูลจากแหล่งใดดีที่สุด แต่จะนำสิ่งที่สอดคล้องกันทั้งหมดมา รวมไว้ด้วยกัน และทำให้ระบบฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความหลากหลายทางด้านมิติข้อมูลมากขึ้น เนื่องด้วย การทำงานของ Semantic Web ได้กำหนด Provide Common framework ที่ทำให้ข้อมูล สามารถแบ่งปัน share และนำกลับมาใช้ใหม่ reused ข้าม Application หรือชุมชน (Community) ที่ได้ระบุขอบเขตไว้ชัดเจน ได้ โดยที่ตัวเครื่องจักร (Machines) ทั้งหลาย สามารถเข้าใจในองค์ประ


กอบของข้อมูลที่มีการแนบนิยามโดเมน (Domain theory) เช่น รูปแบบการอ้างอิง Class แม่ ของข้อมูล หรืออาจเรียกว่าเป็น Ontology ที่จะสามารถบอกระดับความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ การมาของ Semantic Web จะช่วยให้ข้อมูลมีการเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้น ในรูปแบบเครือข่ายเชิงความหมาย (Semantic Network) เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์อันชาญฉลาดมากยิ่งขึ้นในอนาคต อาทิ เช่น โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ (Intelligent Agent) ที่สามรถสืบค้นข้อมูลที่อิงตามความหมายได้ (Semantic Search)

Web 3.0 A Part of AI (ระบบสมองกล)

AI (Artificial Intelligence) คำเรียกว่า ระบบสมองกล เราจะรู้สึกคุ้นมากกว่า มีขีดความสามารถในการ คาดเดา ว่า เราคิดอะไร guess what ? คาดการณ์/หยั่งรู้ ว่าเราจะทำอะไรต่อไป (what doing next) ได้ในระดับใกล้เคียงแม่นยำมากขึ้น เสมือนคิดได้เอง จากนั้น จะทำการค้นหา ผลลัพธ์ แล้วนำมาประมวลคำสั่ง (execute) เพื่อตอบสะนองความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้ฝังระบบสมองกลไว้ข้างใน หุ่นยนตร์เพื่อนมนุษย์ asimo
เครื่องตรวจวัดดรรชนีมวลกาย เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ กล่องดำในเครื่องบิน ระบบอัจฉริยะในรถยนต์ต้นแบบ
การวัดระยะทาง จากปลายทางมายังจุดเริ่มขับรถ การทำงานของใบปัดน้ำฝนโดยอัตโนมัติเมื่อมีฝนตก การหักมุมแสงไฟส่องของไฟเลี้ยวหน้า เมื่อรถเลี้ยวโค้ง สัญญาณ กะระยะพร้อมกับ การแจ้งเตือนด้วย เสียงและไฟกระพริบ
การใช้เสียงสั่งงาน Voice Command กับอุปกรณ์ ในรถยนต์ คุณผู้อ่านคงจะได้ผ่านตากับ โฆษณารถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง
การควบคุมอุณหภูมิภายในรถ เมื่ออากาศเปลี่ยนไป การทำงานอัตโนมัติของไฟตัดหมอก ระบบที่สัมพันธ์กับเกียร์ เช่น ควบคุมความเร็ว หรือ ระบบควบคุมการทรงตัว ด้วยการสร้างสมดุลใน สภาพพื้นผิวต่างๆ

วันอาทิตย์, มกราคม 09, 2554

6 เทคนิค ในการวิเคราะห์ประเภทของความต้องการของผู้ใช้

Shadowing : การสังเกตการณ์ผู้ใช้ วิธีนี้มีประโยชน์หลักๆ อยู่ 2 ประการ อันที่หนึ่ง ได้รับรายละเอียดผ่านมุมมอง
ของผู้ใช้ต่อระบบงาน และประการที่ 2 ค้นพบรายละเอียดตกหล่นเพิ่มเติมหรือข้อมูลที่ซ่อนตัวอยู่
Interviewing: การตั้งชุดคำถามหรือ การสัมภาษณ์เป็นวิธีการเริ่มต้น ที่ดีเยี่ยมและตรงจุดที่สุด ในขั้นตอนการ
รวบความต้องการระบบงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารแบบตัวต่อตัว ในการสร้างรายละเอียดขึ้นมา
Focus groups : การจัดรอบ ให้ตัวแทนกลุ่มของผู้ใช้ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน ดูได้จากแฟ้มผู้ใช้งาน
Surveys : การสำรวจ คือวิธีเก็บข้อมูลในหัวข้อเฉพาะ จากกลุ่มผู้ใช้ตัวอย่าง ขั้นตอนนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่
เปิดเผยเพิ่มเติม ที่ไม่อาจได้มาโดยวิธีการอื่น
User instruction : คือเทคนิคในการขอความช่วยเหลือจากผู้ใช้ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับระบบงาน
Prototyping : การจัดทำ ตัวต้นแบบ(ฉบับร่าง) เป็นการจัดทำโซลูชั่นอย่างง่ายเพื่ออธิบายการทำงานระบบ