วันพฤหัสบดี, มกราคม 26, 2555

Component Diagram


แจงสี่เบี้ย : Component diagram
คอมโพเน้นต์ ไดอะแกรม แสดงถึงองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ คอนโทรลเลอร์ที่อยู่ภายใน และ ส่วนที่ประกอบขึ้นมาเป็น
ระบบ และผังโครงสร้าง และการขึ้นต่อกันของแต่ละส่วนประกอบ 
คอมโพเน้นต์ ไดอะแกรม ได้นิยามขึ้นในระดับที่สูงกว่า คลาสไดอะแกรม โดยปกติแล้ว คอมโพเน้นต์ จะถูกสร้างจาก
คลาส หรือออบเจ็กต์ ในขณะรันไทม์  รายการดังกล่าวนี้ นำมาใช้เพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทาง ส่วนใหญ่ของระบบ


รูปประกอบที่ 6 ตัวอย่างคอมโพเน้นต์ไดอะแกรม




สัญลักษณ์ และองค์ประกอบ ของคอมโพเน้นต์
สัญลักษณ์ สำหรับคอมโพเน้นต์ แสดงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยม ที่มาพร้อมกับ คีย์เวิร์ด  «component»  หรือจะเลือกใช้ตัวเลือก
ที่แสดงในรูปสี่เหลี่ยม พร้อมกับ ไอคอน คอมโพเน้นต์ (รูปเล็กมุมบนขวาคล้ายกับ หัวเสียบปลั๊ก)


รูปประกอบที่ 7 สัญลักษณ์แสดงองค์ประกอบ

สัญลักษณ์ของอินเตอร์เฟส
สัญลักษณ์อินเตอร์เฟสตรงปลายด้านวงกลม
แสดงถึงบทบาทคอมโพเน้นต์ตัวจัดหาบริการ  ขณะที่สัญลักษณ์อินเตอร์เฟส
ตรงปลายด้านครึ่งวงกลม แสดงถึงบทบาทคอมโพเน้นต์ตัวเรียกใช้บริการ ดังในตัวอย่ง ตัวเชื่อม  
(Connector) จะทำการเชื่อมโยง
อินเตอร์เฟสของคอมโพเน้นต์ตัวร้องขอบริการ
(Component1) ไปยัง อินเตอร์เฟสของคอมโพเน้นต์ตัวตอบสนองบริการอีกตัวหนึ่ง
(Component2)




รูปประกอบที่ 8 สัญลักษณ์แสดงรูปแบบอินเตอร์เฟส

วันศุกร์, มกราคม 20, 2555

Composite Structure diagram


แจงสี่เบี้ย : Composite Structure diagram
คอมโพสิตสตรัคเจอร์ไดอะแกรม คือชุดของ การเชื่อมต่อระหว่างกันของ องค์ประกอบที่ใช้ทำงานร่วมกันในขณะรันไทม์ เพื่อตอบสนองจุดประสงค์บางอย่าง  แต่ละหน่วยมีการ กำหนดบทบาทเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกัน 


รูปประกอบที่ 9 ตัวอย่างคอมโพสิต สตรัคเจอร์ไดอะแกรม
องค์ประกอบหลักของคอมโพสิตสตรักเจอร์ ตามข้อกำหนด UML 2.0  ประกอบด้วย structured classifiers, parts, ports, connectors, และ collaborations
§  Structured classifier : StructuredClassifier  ใช้แสดงแทนคลาส มักนำมาใช้กับคลาสตามเกณฑ์ที่กำหนด
 ซึ่งพฤติกรรมจะเป็นตัวกำหนด การแสดงอาการว่าสามารถมีปฏิกิริยาเพื่อบรรยายลักษณะระหว่างพาร์ท โดยสมบูรณ์หรือเพียงบางส่วน
§  Part : part  ใช้แทนบทบาทที่แสดงอยู่ในขณะรันไทม์ โดยอินสแตน์ใดของคลาสที่กำหนดประเภท หรือจากการรวบรวมอินสแตนซ์   บางคราว พาร์ทอาจเป็นเพียงชื่อของบทบาท และอาจเป็นชื่อนามธรรมของ ซูปเปอร์คลาส หรือที่กำหนดไว้กับคลาสที่มีอยู่จริง
§  Port : port  คือจุดแสดงปฏิกิริยาที่สามารถใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับ structured classifiers  กับ พาร์ท และสภาพแวดล้อมเข้าด้วยกัน  พอร์ทสามารถ ระบุทางเลือกให้กับบริการที่ ต้องการจัดเตรียมและให้บริการตามที่
ต้องการจากส่วนอื่นๆ ของระบบ
§  Connector : connector ผูกโยง เอ็นติตี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้ มันสามารถโต้ตอบกันได้ในขณะรันไทม์  ตัว connector แสดงด้วยเส้น ระหว่าง กลุ่มของ part port และ structured classifiers 
Collaboration : collaboration โดยทั่วไปมีลักษณะตามหลักเกณฑ์กำหนดมากกว่า structured classifier  แสดงผ่านเส้นบทบาทด้านปลายเป็นวงกลม ซึ่งอินสแตนซ์ สามารถนำมาแสดงในรูปแบบการทำงานร่วมกันได้ 

วันเสาร์, มกราคม 14, 2555

Deployment diagram

แจงสี่เบี้ย : Deployment diagram

ดีพลอยเม้นท์ไดอะแกรม เป็นโมเดล สำหรับ การจัดวางระบบงานหรือองค์ประกอบที่สร้างขึ้นบนโนด เพื่ออธิบายถึง เว็บไซต์ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้น ลองดูตัวอย่าง ดีพลอยเม้นต์ไดอะแกรมที่แสดงโนดคอมโพเน้นต์ทางด้านฮารด์แวร์ ที่มีอยู่ อาทิ เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ เซิร์ฟเวอร์แอพพลิเคชั่น และเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล  หากต้องการรู้ว่า คอมโพเน้นต์ซอฟต์แวร์อะไรบ้าง ที่รันอยู่บน
แต่ละโนด (อย่างเช่น เว็บแอพพลิเคชั่น ดาต้าเบส) และแต่ละส่วนเชื่อมถึงกันอย่างไร  

โนดแสดงอยู่ในรูปของกรอบสี่เหลี่ยม และระบบงานหรือคอมโพเน้นต์ซอฟท์แวร์ที่เราจัดทำขึ้น จะจัดวางไว้ในแต่ละโนด
โดยที่โนดอาจมีโนดย่อย ที่ปรากฏเป็นกล่องซ้อนอยู่ภายใน  โนดใดๆ ในดีพลอยเม้นท์ไดอะแกรม อาจแสดงแทนบนพื้นฐาน
แนวความคิด ถ่ายทอดโนดให้มีความหลากหลายของรูปทรงทางวัตถุ อย่างเช่น คลัสเตอร์ ของเซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล


โนดสามารถ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด
1.    โนดตัวแทนอุปกรณ์  (Device Node)
2.    โนดตัวแทนสภาวะแวดล้อมการประมวลคำสั่ง (Execution Environment Node)
ดีไวซ์โนด โดยลักษณะเป็นทรัพยากรสำหรับการคำนวณ ที่มาพร้อมกับหน่วยความจำสำหรับการประมวลผล และบริการ
ในด้านการประมวลคำสั่งซอฟต์แวร์ อย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ
อีเอ็นเอ็น โนด เป็นซอฟต์แวร์ทรัพยากรเพื่อการคำนวณ ที่รันภายใต้ ส่วนนอกโนด และแต่ละโนดเหล่านั้น ได้จัดเตรียมบริการให้กับโฮสท์ และเอ็กซิคิ้ว หน่วยซอฟต์แวร์ประมวลคำสั่งอื่น



ตัวอย่าง Deployment Diagram


วันศุกร์, มกราคม 13, 2555

ไดอะแกรม ในกลุ่ม กิจกรรมลำดับเหตุการณ์ (Behavior Diagrams) 2 Interaction

Communication Diagram  ใช้แสดงการโต้ตอบระหว่างออบเจ็กต์ ในด้านลำดับข้อความเหตุการณ์ ที่นำเสนอโดยวิธีการ รวมรายละเอียด ของรายการที่สืบเนื่องมาจาก คลาสไดอะแกรม ซีเควนซ์ ไดอะแกรม และยูสเคส ไดอะแกรม สำหรับใช้ บรรยายถึง โครงสร้างแบบคงที่ และกิจกรรมเคลื่อนไหวในระบบงาน
Interaction Overview Diagram ใช้นำเสนอภาพรวม ที่สัมพันธ์กับโนดที่ใช้ในการสื่อสารโต้ตอบภาย
ในไดอะแกรม
Sequence Diagram ใช้แสดงถึงวิธีการที่ออบเจ็กต์ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน ในมุมมองของ ลำดับข้อความเหตุการณ์
และยังใช้เพื่อแจ้งถึง เส้นอายุของออบเจ็กต์ทีสัมพันธ์กับข้อความเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย
Timing Diagram เป็นไดอะแกรมเฉพาะที่แสดงการโต้ตอบระหว่างกัน ซึ่งจุดสนใจจะอยู่ที่ข้อกำหนดในด้านเวลา

วันพฤหัสบดี, มกราคม 12, 2555

ไดอะแกรมในกลุ่ม กิจกรรมเหตุการณ์ (Behavior Diagram) 1

Activity Diagram ใช้แสดง กระบวนการและการดำเนินกิจกกรรมทางธุรกิจแบบเป็นขั้นตอน อิงตามผังการไหลของคอมโพเน้นต์
ในระบบงาน ไดอะแกรมนี้ยังแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนทั้งหมด นับจากเริ่มจนจบในแต่ละคอนโทรล
Use Case Diagram ใช้แสดง เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบ ในมุมมองผู้ปฏิบัติสั่งการ(actor)ที่กระทำให้เกิดผลลัพธ์
ผ่านเหตุการณ์ย่อย(use case)และความสัมพันธ์แบบขึ้นต่อกัน(dependency)ในระหว่างออบเจ็กต์ด้วยกัน
State Machine Diagram ใช้แสดงสถานะของระบบ และแสดงการเปลี่ยนแปลงรายการ(transaction)ในระบบงาน

วันอังคาร, มกราคม 10, 2555

Package Diagram


ตัวอย่าง แพคเก็จไดอะแกรม
แจงสี่เบี้ย : Package diagram
แพคเก็จไดอะแกรม นำมาใช้เพื่อสะท้อน มุมมองกลุ่มสมาชิกของแพคเก็จ และองค์ประกอบรายการที่เกี่ยวข้องต่างๆ  เมื่อนำ
ใช้กับองค์ประกอบคลาส  แพคเก็จไดอะแกรมจะทำการเตรียมมุมมองเสมือนจริงของเนมสเปซ  แพคเก็จไดอะแกรมโดยทั่วไปใช้เพื่อการจัดกลุ่มของยูสเคสไดอะแกรม และคลาสไดอะแกรม อย่างไรก็ตาม การใช้แพ็คเก็จไดอะแกรมไม่ได้จำกัดเพียงเฉพาะส่วนประกอบภายใน
UML เหล่านี้เท่านั้น    

เส้นความสัมพันธ์ Merge  
ตัวเชื่อมโยง «merge» ระหว่าง 2 แพ็คเก็จ กำหนดความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะทั่วไปโดยชัดเจน ระหว่างองค์ประกอบ
ใน แพ็คเก็จต้นทาง และองค์ประกอบชื่อเดียวกันในแพ็คเก็จเป้าหมาย  ส่วนประกอบต้นทาง ได้ขยายคำจำกัดความออกไป
ให้ครอบคลุมถึง บทนิยามไว้ ที่มีอยู่ในส่วนประกอบเป้าหมายด้วย

เส้นความสัมพันธ์ Import 
ตัวเชื่อมโยง «import» บ่งชี้ถึง องค์ประกอบที่มาพร้อมกับ แพ็คเก็จเป้าหมาย  ในตัวอย่างนี้ เป็น คลาสเดี่ยว ที่ใช้ชื่อ
ไม่เหมาะสม เมื่อถูกอ้างอิงจากแพ็คเกจต้นทาง  ขณะที่เนมสเปซของแพ็คเก็จต้นทางได้รู้วิธีเข้าไปยังแพ็คเก็จเป้าหมาย
โดยเนมสเปซเป้าหมายไม่ได้รับผลกระทบ

ตัวเชื่อมโยงซ้อน 
ตัวเชื่อมซ้อน ระหว่างแพ็คเก็จเป้าหมายและแหล่งแพ็คเก็จ แสดงว่า แหล่งแพ็คเก็จ สามารถรวมแพ็คเก็จปลายทางเข้าด้วยกัน  


ไดอะแกรม ในกลุ่มโครงสร้าง (Structure Diagram)


Class Diagram ใช้เพื่อแสดงวัตถุสิ่งต่างๆ และองค์ประกอบพื้นฐาน  จากการวิเคราะห์ และออกแบบ หรือการสร้างคลาส
และความสัมพันธ์
Object Diagram ใช้เพื่อแสดงกรณีตัวอย่าง ลายละเอียดการนำออบเจ็กต์ไปใช้ และรายการเชื่อมโยง  บ่อย ครั้ง
ได้นำมาใช้เพื่อแสดงถึง เงื่อนไขข้อกำหนด สำหรับแต่ละเหตุการณ์ อย่างเช่น การทดสอบ หรือ การเรียกการทำงาน   
Component Diagram ใช้เพื่อแสดงกลุ่มผังโครงสร้าง และความสัมพันธ์ ระหว่าง ระบบงานที่ทำการส่งมอบ
Composite Structure Diagram ใช้เพื่อแสดงถึง สิ่งที่ใช้ประโยชน์ ที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะใน โครงสร้างที่มีความซับซ้อน
หรือ งานออกแบบบนฐานคอมโพเน้นต์ 
Deployment Diagram ใช้เพื่อแสดงสถาปัตยกรรมแบบรันไทม์ ของระบบ แพล็ตฟอร์มของฮารด์แวร์  จำนวนซอฟต์แวร์ที่ประมวลผลหรือส่งมอบ และสภาแวดล้อมของซอฟต์แวร์ อาทิ เช่น ระบบปฏิบัติการ และ การจำลองเครื่องฯและอุปกรณ์ใช้งาน
Package Diagram ใช้เพื่อจัดเรียงระบบ องค์ประกอบในตัวโมเดล