วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 12, 2557

Agile Prooject Management เหมาะนำมาใช้เมื่อใด

- เกณณ์ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ(Project Environment)
   เมื่อพัฒนาโครงการ ที่มุ่งจุดสนใจ ไปยังเทคโนโลยีใหม่ๆ โครงการที่สัมพันธ์กับการค้นคว้า ค้นพบวิทยาการใหม่ เนื่องจาก เป็นวิธีปฏิบัติ และวิธีการที่ไม่แน่นอนตายตัวเป็น ไม่มีตัวแบบให้ยึดเป็นแนวทาง
- เกณฑ์ โครงสร้าง ผู้มีส่วนได้เสีย
   เหมาะกับหน่วยงานเดี่ยว หรือทีมงานที่มีเอกภาพ อย่างเช่น โครงการงานวิจัยต่างๆ ที่ในระยะเริ่มต้นวิจัยพัฒนา 
ตัวโครงการ อาจสร้างงานที่มีขีดความสามารถที่แพร่หลายในวงกว้าง แต่ยังอยู่ในกระบวนการทดสอบในเชิงพานิชย์

Agile Project Manangent ไม่เหมาะนำมาใช้เมื่อใด

- เกณณ์ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ(Project Environment)
   เมื่อระดับ ของความไม่มั่นใจ ต่อเหตุการณ์ ในขณะดำเนินการ อยู่ในระดับต่ำ โครงการลักษณะนี้ เหมาะกับวิธีการจัดการโครงการแบบดั้งเดิม (Classic PM)
- เกณฑ์ โครงสร้าง ผู้มีส่วนได้เสีย
   การจัดการโครงการแบบดั้งเดิม มีความเหมาะสมกว่า เมื่อสามารถกำหนด ความคาดหวังที่ชัดเจนร่วมกัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้ง ลูกค้า/ผู้ใช้บริการ หุ้นส่วน และผู้ร่วมโครงการ

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 05, 2557

เชาว์อารมณ์ Emotional Inteligence (EQ) สำหรับ Project Manager

EQ แสดงถึงความสามารถหรือทักษะ ด้านการรับรู้ การประเมิน และการจัดการกับอารมณ์ทั้งของตนและผู้อื่น ประกอบไปด้วย ความสามารถ 5 ด้านดังนี้

การรู้ตัวตน (Self Awareness)
คือการรู้จักอารมณ์ตนเองอย่างถ่องแท้ ตระหนักถึงความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเข้าใจถึงการเชื่อมโยงระหว่าง อารมณ์ และ พฤติกรรม
การควบคุมตนเอง (Self Regulation)
 สามารถควบคุมอารณ์ และแรงกระตุ้นที่ นำไปสู่ความยุ่งยากวุ่นวาย และรับมือได้อย่างเหมาะสม

การสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง (Self Motivation)
สามารถรวบรวมและผลักดัน อารมณ์ความรู้สึกตนเอง และนำพาไปสู่เป้าหมาย ด้วยพลัง แรงปรารถนา และความพยายามอย่างเต็มที่

ความเอาใจใส่ (Empathy)
สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถโน้มน้าวให้แสดงความคิดเห็นออกมาทั้งในด้านคำพูด และการชี้นำในด้านอื่นๆ

ทักษะทางด้านสังคม (Social Skills)
สามารถสร้างเครื่อข่ายสังคมและ สร้างสายสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลที่มีลักษณะที่แตกต่างกันได้

วันอังคาร, มิถุนายน 03, 2557

ผู้จัดการโครงการทรงประสิทธิผล (Highly Effective Project Manager)

- มีนวัตกรรม (Innovative) และรักษาความสเถียรภาพ (Stability)่
มีการพัฒนาสิ่งใหม่และคิดวิธีที่ดีกว่าในการทำงาน
- จับจ้องที่ภาพใหญ่ (Big Picture) ขณะลงมือทำ
พิจารณา โครงการที่ทำนั้น ตอบสนองกลยุทธองค์กร อย่างไร
- กระตุ้น(Encourage) รายบุคคลแต่ สร้างแรงผลักดัน(Stress)เข้าไปในทีม
สร้างการจูงใจ โน้มน้าว ให้แต่ละบุคคล แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ไปพร้อมกับรักษาสภาพแวดล้อม
การทำงานเป็นทีม
- วางเฉย(Hands off)/มีส่วนรวม(Hands-on)
รู้ว่าเมื่อไหร่ เหมาะที่จะเป็นเพียงผู้ดูอยู่ห่างๆ เมื่อไหร่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับงาน
- ยืดหยุ่นแต่ มั่นคง (Flexible but Firm)
ต้องสามารถปรับเปลี่ยนและตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่กระทบกับโครงการ บางครั้ง ต้องตั้งมั่นหนักแน่น ในขณะที่สมาชิกอื่นๆ เริ่มแสดงอาการว่ายอมแพ้ 
- ความภักดีต่อทีม และองค์กร (Team & Organizational Royalties)
ต้องหลอมรวม สมาชิกในทีมที่มาจากหลากหลายส่วน ปลุกเร้า เพื่อส่งผลให้ ผลการทำงานดีขึ้นเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันต้องสามารถ รับมือกับการประสานงานของ จำนวนสมาชิกที่มากมาย เพื่อปลูกฝังให้เกิดความภักดีต่อทั้ง ทีมและองค์กร